ท๓๐๑๐๒ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกการเรียนการสอน รายวิชา ท๓๐๑๐๒ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครับ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การใช้คำ (เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน)

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การใช้คำ

๑. กลุ่มคำในข้อใดมีความหมายกว้าง
          ก.       คุณแม่ทำความสะอาดเครื่องเงิน                       ข.       เครื่องซักผ้าที่บ้านฉันเสียแล้ว
          ค.       พี่สาวใช้เครื่องเป่าผมทุกวัน                            ง.        ลุงซื้อเครื่องดูดฝุ่นใหม่
เฉลย:   ก.       คุณแม่ทำความสะอาดเครื่องเงิน
คำอธิบาย        เครื่องเงินเป็นคำที่มีความหมายกว้าง เพราะเครื่องเงินมีหลายชนิด เช่น สร้อย แหวน ต่างหู เข็มขัด
เข็มกลัด ปิ่นปักผม หรือกำไล ฯลฯ ที่ผลิตขึ้นด้วยโลหะเงิน เป็นต้น

๒. กลุ่มคำในข้อใดมีความหมายมากกว่า ๑ ความหมาย ทุกคำ
          ก.       เจ้าบ้าน  ลายคราม                                    ข.       ตามน้ำ  สับหลีก
          ค.       ขึ้นหม้อ  ทอดเสียง                                     ง.        หน้าไม้  หน้าบัน
เฉลย:   ข.       ตามน้ำ  สับหลีก
คำอธิบาย       
          ก.       เจ้าบ้าน          หมายถึง (กฎ) บุคคลผู้เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า
หรือในฐานะอื่น เช่นผู้ดูแลบ้าน
                   ลายคราม         หมายถึง ๑. น. เรียกภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่นชามลายคราม
ถ้วยลายคราม แจกันลายคราม ฯลฯ ๒. โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น
เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา เก่าโบราณเช่น รุ่นลายคราม.
ข.       ตามน้ำ            หมายถึง ๑. ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสน้ำหรือกระแสลม) ในคำว่าตามน้ำ ตามลม
                             ๒. โดยปริยายหมายความว่าปฏิบัติ หรือทำตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
เช่นพูดผสมโรงไปตามน้ำ หรือการคอรัปชั่นของข้าราชการชั้นผู้น้อยเพราะต้องทำไป
ตามที่เจ้านายสั่ง เรียกกินตามน้ำ มักใช้ในทางลบ
                   สับหลีก                    หมายถึง (ปาก) ๑. ก. เปลี่ยนทางหลีกของรถไฟ, ๒. โดยปริยายหมายความว่าเปลี่ยน
หรือกำหนดนัดไม่ให้ผู้มาหาตนพบกับอีกคนหนึ่ง (มักใช้ในทางชู้สาว)
          ค.       ขึ้นหม้อ           หมายถึง ๑. น. เรียกข้าวที่หุงสุกแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่าข้าวขึ้นหม้อ
                                      ๒. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็วมากผิดปกติ, โดดเด่น,
เป็นที่โปรดปราน, โชคดี
                    ทอดเสียง         หมายถึง ก. เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปกติ
          ง.        หน้าไม้            หมายถึง ๑. น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก;
๒. เครื่องยิงชนิดหนึ่งมีคันและรางยิงด้วยลูกหน้าไม้
                   หน้าบัน           หมายถึง น. จั่ว ใช้แก่โบสถ์ ปราสาท หรือวิหาร เป็นต้น

๓. คำในข้อใดทุกคำใช้ได้ทั้งความหมายตรงและความหมายโดยนัย
          ก.       คอแข็ง  ใจดี                                           ข.       มือหนัก  ขาแข็ง
          ค.       หัวแข็ง  ตาโต                                          ง.        มือไว  ใจอ่อน
เฉลย:   ค.       หัวแข็ง  ตาโต
          ก.       คอแข็ง  มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึง ๑. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น
๒. ทนต่อรสชาติอันรุนแรงของสุราได้
ใจดี มีความหมายตรงอย่างเดียว หมายถึง มีใจเมตตากรุณาไม่โกรธง่าย

ข.       มือหนัก มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึง ๑. อาการที่ใช้มือทำอะไรอย่างรุนแรงไม่ประณีต
ไม่บรรจง ตรงข้ามกับมือเบา ๒. มากผิดปกติ เช่น แทงหวยมือหนักไปหน่อย เป็นต้น
ขาแข็ง มีความหมายตรงอย่างเดียว หมายถึง ยืนอยู่ที่ใดเป็นเวลานานจนกล้ามเนื้อขาตึง
ค.       หัวแข็ง มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึง ๑. แข็งแรงทนทานไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เด็กคนนี้หัวแข็ง
ตากฝนเป็นชั่วโมงไม่เห็นเป็นอะไรเลย ๒. กระด้าง ว่ายาก เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ตรงข้ามกับหัวอ่อน
ตาโต (สำนวน) มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึงอาการที่ตาเบิกกว้างเพราะยากได้เมื่อเห็นเงิน
ง.        มือไว มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึง ขี้ขโมย
ใจอ่อน มีความหมายโดยนัยอย่างเดียว หมายถึง ยอมง่าย สงสารง่าย

๔. ข้อใดเป็นคำไวพจน์ทุกคำ
          ก.       กนก  รัชดา                                            ข.       วนิดา  ปัทมา
          ค.       อาชาไนย  มโนรมย์                                    ง.        คเชนทร์  มาตงค์
เฉลย:   ง.       คเชนทร์  มาตงค์
คำอธิบาย        คำไวพจน์ หมายถึง คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียน/ออกเสียงต่างกัน มักใช้ในการประพันธ์
ก. กนก (ทอง) รัชดา (เงิน)                             ข. วนิดา (ลูกสาว) ปัทมา (ดอกบัว)
ค. อาชาไนย (ม้า) มโนรมย์ (เป็นที่ชอบใจ)            ง. คเชนทร์  มาตงค์ (ช้าง)

๕.       ข้อใดใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงตัวทุกคำ
          ก.       เขาเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมไม่มีใครรู้ว่าเบื้องหลังเขาค้ายาบ้า
          ข.       เมื่อถูกฉีกหน้ากลางที่ประชุม เขาจึงตัดสินใจลาออก
          ค.       ใบหน้าของเขาเหยเกด้วยความเจ็บปวดจากบาดแผล
          ง.        คนเราต้องมีใจนักเลงเมื่อทำผิดต้องยอมรับผิด
เฉลย:             ค.       ใบหน้าของเขาเหยเกด้วยความเจ็บปวดจากบาดแผล
คำอธิบาย        ก.       เขาเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมไม่มีใครรู้ว่าเบื้องหลังเขาค้ายาบ้า
                    ข.       เมื่อถูกฉีกหน้ากลางที่ประชุม เขาจึงตัดสินใจลาออก
                    ค.       ใบหน้าของเขาเหยเกด้วยความเจ็บปวดจากบาดแผล
                    ง.        คนเราต้องมีใจนักเลงเมื่อทำผิดต้องยอมรับผิด
คำที่ขีดเส้นใต้มีความหมายเชิงอุปมาทุกคำ ยกเว้นข้อ ค. ที่มีความหมายตรงตัว

๖. ข้อใดใช้คำถูกต้องตามความหมาย
          ก.       คนเราต้องมีศาสนาเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจ ข.       ศาลานี้เก่ามากจนพื้นชำรุดลงไปแถบหนึ่ง
          ค.       ตำรวจมีหน้าที่ป้องกันอาชญากรรม                    ง.        แพทย์มีหน้าที่ขจัดโรคให้คนไข้
เฉลย:             ข.       ศาลานี้เก่ามากจนพื้นชำรุดลงไปแถบหนึ่ง
คำอธิบาย        ก.       คนเราต้องมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
                    ค.       ตำรวจมีหน้าที่ปราบปรามอาชญากรรม    
ง.        แพทย์มีหน้าที่รักษาโรคให้คนไข้
๗. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับบุคคล
          ก.       ฉันดูหนังเรื่องนี้แล้วละไม่สนุกเลย                     ข.       อาจารย์คะ ผอ.เรียกไปพบค่ะ
          ค.       เชิญแขกทุกท่านกินอาหารครับ                        ง.        คุณป้าจะเดินทางเมื่อไหร่ล่ะ
เฉลย:             ก.       ฉันดูหนังเรื่องนี้แล้วละไม่สนุกเลย / ข้ออื่นๆ มีระดับภาษาที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งต้องแก้ไขดังนี้
คำอธิบาย        ข.       อาจารย์คะ ผอ. เชิญไปพบค่ะ (เรียก)
                    ค.       เชิญแขกทุกท่านรับประทานอาหารครับ (กิน)
                   ง.        คุณป้าจะเดินทางเมื่อไหร่ครับ/คะ (ล่ะ)

๘. ข้อใดใช้คำที่มีความหมายชัดเจน
          ก.       เขาไม่กินข้าวเย็น                                       ข.       ปลามันมากจริงๆ
          ค.       เขาตัวสูงเกินไป                                         ง.        รำถูกอย่างนี้ไม่มีปัญหา
เฉลย:             ค.       เขาตัวสูงเกินไป
คำอธิบาย        ข้ออื่นเป็นประโยคกำกวมดังนี้
                   ก.       เขาไม่กินข้าวเย็น อาจหมายถึงข้าวมื้อเย็น หรือข้าวที่เย็นชืดก็ได้
                   ข.       ปลามันมากจริงๆ อาจหมายถึงปลาที่เนื้อมีความมัน หรือมันเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนปลา
                   ง.        รำถูกอย่างนี้ไม่มีปัญหา อาจหมายถึง รำที่เป็นคำกริยา หรือรำข้าวที่เป็นคำนามก็ได้

๙. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา
          ก.       ขลุ่ยอันนี้เสียงเพราะดี                                  ข.       เขายื่นใบสมัครแก่เจ้าหน้าที่
          ค.       หน้าตาของเขาเหมือนอย่างกับพ่อ                     ง.        ความหวังเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงหัวใจมนุษย์
เฉลย:             ข.       เขายื่นใบสมัครแก่เจ้าหน้าที่
คำอธิบาย        ข้ออื่นๆ ใช้คำผิดระเบียบของภาษาดังนี้
          ก.       ขลุ่ยเลานี้เสียงเพราะดี (การใช้คำลักษณนาม)                 
ข.       เขายื่นใบสมัครแก่เจ้าหน้าที่ (แก่ / คำนำหน้านามผู้รับ)     
ค.       หน้าตาของเขาเหมือนพ่อราวกับแกะ/หน้าตาของเขาเหมือนพ่อ (การเรียงลำดับประโยค)          ง.        ความหวังเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงหัวใจมนุษย์/ความหวังเป็นเครื่องล่อเลี้ยงหัวใจมนุษย์ (การใช้สันธาน)

๑๐. ข้อใดใช้คำไม่ถูกต้องตามความหมาย
          ก.       เธอมีน้ำตาคลอเบ้า เมื่อฟังเรื่องเศร้าสะเทือนใจ      
ข.       คุณปู่โกนผมไฟหลานเมื่ออายุครบเดือน
          ค.       ในช่วงนี้ตอนเย็นๆ จะได้ยินเสียงจิ้งหรีดเซ็งแซ่       
ง.        เราจะบริจาคเงินเท่าไรก็ได้ ทางโรงเรียนไม่ได้กะเกณฑ์
เฉลย:             ง.       เราจะบริจาคเงินเท่าไรก็ได้ ทางโรงเรียนไม่ได้กะเกณฑ์
คำอธิบาย        ข้ออื่นๆ ใช้คำถูกต้องตามความหมายแล้ว แต่ข้อ ง. ใช้คำ กะเกณฑ์
                   ซึ่งไม่เหมาะจะมีความหมายว่า กำหนด ตามความหมายของประโยค เนื่องจาก กะเกณฑ์
                   หมายถึง บังคับ; กำหนดเป็นเชิงบังคับ แต่ใช้กับการปฏิบัติงาน/การร่วมมือกันทำงาน
                   ไม่ใช้กับการบริจาคเงิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น